ประวัติการศึกษาพันธุ์ไม้ในประเทศไทย

ช่วงก่อนปี ค.ศ. 1920
          J.K. Koenig เป็นนักพฤกษศาสตร์คนแรกที่ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับพรรณพฤกษชาติของประเทศไทยอย่างคร่าว ๆ ในสมุดบันทึกประจำวัน มีชื่อ Chloris siamensis ปรากฏด้วย บันทึกประจำวันเล่มนี้ได้ถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษ และตีพิมพ์หลังจากที่เขาได้เสียชีวิตไปแล้วนานกว่า 200 ปี
F.N. Williams (ปี ค.ศ. 1904-1905) พิมพ์รายชื่อพืชที่รู้จักจากประเทศไทย
E.J. Schmidt เรียบเรียงหนังสือพรรณพฤกษชาติของเกาะช้าง (Flora of Koh Chang) ในปี ค.ศ. 1910-1916 ซึ่งการศึกษาครอบคลุมพืชทุกกลุ่ม โดยได้รับความร่วมมือจากบรรดานักพฤกษศาตร์หลายประเทศ
A.F.G. Kerr ปี ค.ศ. 1910 พิมพ์ “พรรณพฤกษชาติของดอยสุเทพ” (Flora of Doi Suthep) ในวารสาร “Bulletin of Miscellaneous Information” (Kew Bulletin)
C.C. Hosseus ตีพิมพ์ผลการศึกษาเกี่ยวกับพรรณพืชของไทยหลายเรื่องได้แก่ ในปี ค.ศ. 1907 เรื่อง Die aus Siam bekannten Acanthaceen ในปี ค.ศ. 1910 เรื่อง Beitrage Zur Flora Siam และปี ค.ศ. 1911 เรื่อง Die botanischen Ergebniss meiner Expedition nach Siam
W.G. Craib ศึกษาพรรณพืชของประเทศไทยมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1907 ได้ตีพิมพ์ผลการศึกษาเรื่อง The List of Siamese plants with Descriptions of New Species ในปี ค.ศ. 1911-1912 ในวารสาร Kew Bulletin ในเวลาต่อมาเขาได้ตีพิมพ์เรื่อง Contributions to the Flora of Siam (Dicotyledones) ในปี ค.ศ. 1912 และเรื่อง Contributions to the Flora of Siam (Monocotyledons) ในปี ค.ศ. 1913 ทั้งสองเรื่องถูกตีพิมพ์ในวารสาร Aberdeen University Studies และผลงานทั้งสองเรื่องเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการพิมพ์ชุดบทความ Contributions to the Flora of Siam ในเวลาต่อมา
H.N. Ridley ได้สำรวจพรรณพืชทางภาคใต้ของประเทศไทย และตีพิมพ์ An Account of a Botanical Expedition to Lower Siam ในปี ค.ศ. 1912 เรื่อง The Plants of Koh Samui and Koh Penang ในปี ค.ศ. 1915 และเรื่อง On a Collection of Plants from Peninsular Siam ในปี ค.ศ. 1920
ปี ค.ศ. 1920-1950
          ในช่วงเวลานี้มีการศึกษาเกี่ยวกับพรรณพฤกษชาติของประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น โดยมี W.G. Craib ผู้เปรียบเสมือนเป็นผู้นำในการศึกษาพรรณพฤกษชาติของปะเทศไทยในช่วงระยะเวลานี้ โดยเริ่มแก้ไขและเรียบเรียงหนังสือเรื่อง Florae Siamensis Enumeratio หลังจากที่เขาได้เสียชีวิตไปในปี ค.ศ. 1934 A.F.G. Kerr ก็ได้เข้ามาดำเนินงานนี้ต่อไป ซึ่งหากแบ่งเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้อย่างกว้าง ๆ จะมีด้วยกัน 3 ฉบับ เรื่องสุดท้าย (เรื่องที่ 3 ในฉบับที่ 3) ได้ถูกตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1962 และปิดท้ายด้วยผลงานของ E.C. Barnett เรื่องวงศ์ ย่านไก่แดง (Family Gesneriaceae)
ในบรรดาผู้ร่วมงานของ Craib นั้นมี H.R. Fletcher เป็นผู้ศึกษาพรรณไม้วงศ์ Apocynaceae, Sapotaceae, Sarcospermaceae, Styracaceae, Myrsinaceae, Ebenaceae, Symplocaceae, Boraginaceae (วงศ์นี้เขาได้ร่วมงานกับ A.F.G. Kerr) และวงศ์ Verbenaceae ส่วน D.G. Downie ศึกษาพวกกล้วยไม้ ซึ่งงานของเขาได้ถูกตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1925 โดยยึดข้อมูลพื้นฐานจากเอกสารต้นฉบับที่เขียนโดย Rolffe
E.C. Barnett ศึกษาพืชวงศ์ก่อ (Fagaceae) ในประเทศไทย และข้อมูลส่วนหนึ่งได้ตีพิมพ์เป็นวิทยานิพนธ์ในปี ค.ศ. 1942
E.T. Geddes ศึกษาพืชวงศ์เข็ม (Rubiaceae) และผลการศึกษาได้ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1927
J.B. Imlay ศึกษาพืชวงศ์ต้อยติ่ง (Acanthaceae) และข้อมูลส่วนหนึ่งไดพิมพ์เป็นวิทยานิพนธ์ในปี ค.ศ. 1939
A.F.G. Kerr ในช่วงเวลานี้ยังคงศึกษาพรรณพืชของประเทศไทยต่อไป และได้แก้ไขเรียบเรียงหนังสือ Flora Siamensis Enumeration ต่อจาก W.G. Craib แต่มาเสียชีวิตก่อนที่หนังสือเล่มนี้จะเสร็จ เอกสารต้นฉบับได้รับการแก้ไขโดย R.L. Pendleton (ปี ค.ศ. 1951-1954) และ E.C. Barnett (ปี ค.ศ. 1962) นายแพทย์คาร์ได้ศึกษาพืชวงศ์ Compositae, Ericaceae, Oleaceae, Asclepiadaceae, Loganiaceae, Hydrophyllaceae, Boraginaceae (ร่วมงานกับ H.R. Fletcher), Convolvulaceae, Solanaceae และวงศ์ Scrophulariaceae นอกจากนี้เขายังศึกษากล้วยไม้อีกด้วยและยังได้แยกและจัดเก็บตัวอย่างโดยเรียงตามลำดับหมายเลข ผลของการศึกษาบางส่วนได้ถูกตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1927
พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ ได้ตีพิมพ์หนังสือ List of Common Trees and Shrubs in Siam ในปี ค.ศ. 1923
H.R. Fletcher ตีพิมพ์ The Siamese Verbenaceae ในวารสาร Kew Bulletin ในปี ค.ศ. 1938 และเรื่อง Keys to Siamese species of Myrsinaceae ในวารสาร Notes from the Royal Botanic Gardens, Edinburgh ฉบับที่ 20 เล่มที่ 48 หน้า 106-120 ในปี ค.ศ. 1948
กรมป่าไม้ได้ตีพิมพ์หนังสือ Thai Plant Names และหนังสือ Botanical Names – Vernacular Names ในปี ค.ศ. 1948
ค.ศ. 1950-1980
          หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีการฟื้นฟูและเร่งการศึกษาทางด้านพฤกษศาสตร์ นักพฤกษศาสตร์ของไทยเริ่มเก็บรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้มากขึ้น ในขณะีพรรณพืชในประเทศมีจำนวนมากและยังขาดการศึกษาวิจัย และผู้เชี่ยวชาญ ดังนั้นจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากนักพฤกษศาสตร์ต่างประเทศ ทำให้เกิดงานวิจัยร่วมกับต่างประเทศมากมาย เช่นงานวิจัยร่วมระหว่างนักพฤกษศาสตร์ไทย-เดนมาร์ก ไทย-เนเธอร์แลนด์ และไทย-ญี่ปุ่น
การศึกษาทางพฤกษศาสตร์ร่วมกันระหว่างไทย-เดนมาร์ก (Thai – Danish botanica studies) (ปี ค.ศ. 1961-1969) มีผลงานดังต่อไปนี้ Prof. K. Larsen เรียบเรียงผลการศึกษาพรรณไม้เป็นตอนๆ ในประเทศไทยในวารสาร Dansk Botanisk Arkiv ครอบคลุมพืชหลากหลายกลุ่ม Gunnar Seidenfaden และดร.เต็ม สมิตินันทน์ ร่วมตีพิมพ์เรื่อง Orchids of Thailand ซึ่งเป็นข้อมูลในการจัดทำบัญชีรายชื่อกล้วยไม้ไทยในเวลาต่อมา (ปี ค.ศ. 1959-1964) หลังจากนั้น Seidenfaden เริ่มต้นเขียนงานเกี่ยวกับกล้วยไม้ไทยอย่างต่อเนื่องในหัวข้อเรื่อง Contributions to the Orchids of Thailand ลงพิมพ์ในวารสาร Dansk Botanisk Tiddsskrift (ปี ค.ศ. 1969-1977) และเรื่อง Orchid Genera in Thailand ในวารสาร Dansk Botanisk Arkiv (ปี ค.ศ. 1975-1989)
E. Nelmes ตีพิมพ์เรื่อง The Genus Carex in Indo–China, including Thailand and Lower Burma (ปี ค.ศ. 1955) ในวารสาร Memoire du Museum Nationale d’Histoire Naturelle (ตีพิมพ์ที่กรุงปารีส)
M. Raymond ตีพิมพ์เรื่อง Carices Indochinesis nec non Siamese (ปี ค.ศ. 1959) ในวารสาร Memorie du Jardin Botanique Montreal
J. Kern ตีพิมพ์เรื่อง Cyperaceae of Thailand (excl. Carex) ในวารสาร Reinwardtia (ปี ค.ศ. 1961-1962)
E.C. Barnett ตีพิมพ์เรื่อง New Species of the Gesneriaceae from Thailand ในวารสาร Natural History Bulletin of Siam Society (ปี ค.ศ. 1961)
R. Hein ตีพิมพ์เรื่อง Contribution a la flore mycologique de la Thailande I ในวารสาร Revne Mycolgique (ปี ค.ศ. 1962)
C. Grey–Wilson ตีพิมพ์เรื่อง New plants record from Thailand ในวารสาร Kew Bulletin ฉบับที่ 26 (ปี ค.ศ. 1971)
H.K. Airy Shaw (ปี ค.ศ. 1971) ตีพิมพ์เรื่อง The Euphorbiaceae of Siam ในวารสาร Kew Bulletin ฉบับที่ 26
สำหรับหนังสือพรรณพฤกษชาติของไทย (Flora of Thailand) มีดร.เต็ม สมิตินันทน์ และ Prof. K. Larsen เป็นบรรณาธิการ ได้เริ่มต้นพิมพ์เผยแพร่การศึกษาทบทวนพรรณพฤกษชาติในประเทศไทยในปี ค.ศ. 1970 จนถึงปัจจุบัน โดยเริ่มตั้งแต่ เล่มที่ 2 (Volume 2) แบ่งเป็น ตอนๆ 2-4 ตอน (parts) สำหรับ เล่มที่ 1 นั้นเป็นส่วนของบทนำยังไม่เสร็จสมบูรณ์
ต่อมากรมป่าไม้เริมพิมพ์วารสารเผยแพร่ผลงานการศึกษาวิจัยด้านพฤกษศาสตร์ในประเทศไทย ชื่อ Thai Forest Bulletin (Botany) (ปี ค.ศ. 1954) โดยมีดร.เต็ม สมิตินันทน์ เป็นบรรณาธิการ ตีพิมพ์ผลงานทั้งของนักพฤกษศาสตร์ไทยและต่างประเทศ
ในปี ค.ศ. 1980 เต็ม สมิตินันทน์ ได้พิมพ์หนังสือ รายชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย Thai Plant Names (Botanical Names – Vernacular Names)

ข้อมูลจาก สำนักงานหอพรรณไม้ http://www.dnp.go.th/Botany/herbariumThai_researchHistory.html


กลับสู่หน้าหลัก Go to home